เรียนทำอาหารญี่ปุ่นแบบต้นตำรับ

เมษายน 15, 2560

หนึ่งในอาหารที่มิ้นท์ชอบมากที่สุดก็ต้องยอมรับเลยค่ะว่าเป็นอาหารญี่ปุ่น โดยก่อนหน้าที่ก็ไม่ค่อยเข้าใจตัวเองนะคะว่าเพราะเหตุใดเราถึงรู้สึกหลงไหลในอาหารญี่ปุ่นได้ขนาดนี้ และยิ่งเมือมีโอกาสได้ไปทานข้าวเย็นในเรียวกังดั่งเดิมที่มักจะมาพร้อม ชุดไคเซกิ ชุดอาหารที่เสริฟทีละอย่าง เป็นลำดับตามธรรมเนียมดั้งเดิมของญี่ปุ่น ซึ่งเมนูที่ถูกเลือกมากก็จะขึ้นอยู่กับวัตถุดิบตามฤดูกาลในแต่ท้องถิ่นนั้น ยิ่งทำให้รู้สึกอินมากกว่าเดิมขึ้นไปอีก 18 เท่า เพราะเราเริ่มสัมผัสได้ถึงความละเอียดและประณีตของเชฟที่ใส่เข้าไประหว่างทำอาหาร จนอดนึกไม่ได้นะคะว่าถ้าหากได้รู้เทคนิคและทำได้สัก10%เค้าก็คงจะดี
จนมิ้นท์ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมเรียนใน หลักสูตรการประกอบอาหารญี่ปุ่นแบบต้นตำรับ ของวิทยาลัยดุสิตธานี ที่จับมือร่วมกับ TSUJI CULINARY INSTITUTE เป็นสถาบันสอนการประกอบอาหารชั้นนำที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่น  2 คอร์ส  รวมเวลา 4 วัน งานนี้เริ่มตั้งแต่พื้นฐานในการทำอาหารญี่ปุ่น จนไปถึงเทคนิคในการเป็นเซฟทำซูชิ!!
มาลองฟังมุมของคนที่รักการกินอาหารญี่ปุ่นเป็นชีวิตจิตใจแต่ไหนหละไม่เคยเข้าครัว มาเล่าให้ฟังกันดูค่า อ่านต่อคลิก

อยากบอกว่าที่เห็นหน้าตาดีขนาดนี้ไม่ได้ออกมาง่ายๆนะคะ เซนเซพูดดักไว้ตั้งแต่วันแรกเลยค่า ว่าการทำซูชิ ไม่ง่ายนะ!! ใช้เทคนิคขั้นสูง กว่าที่ซูชิเชฟจะออกมายืนหน้าเค้าเตอร์ได้ เค้าถูกให้ยืนปั่นอยู่หลังร้านอย่างต่ำๆก็ 4-5 ปี ซึ่งคำพูดนี้มันจริงยิ่งกว่าจริงอีกค่า มาลองดูไปด้วยกันค่า ว่า 4 วันนี้มิ้นท์เรียนอะไรไป และคุ้มแค่ไหนกันค่ะ
ถามว่าหลักสูตรนี้เหมากับใคร?
- คนไม่เคยทำอาหารมาก่อน : มิ้นท์ในฐานะคนที่แทบไม่เคยเข้าครัวมาก่อน ได้เรียนรู้อะไรเยอะมากๆจากห้องเรียนนี้
- คนที่เคยทำอาหารไทยอยู่แล้ว : แน่นอนค่ะว่าพื้นฐานในการทำอาหารแต่ละประเภทอาจจะใกล้เคียงกัน แต่กรรมวิธี แต่ความใส่ใจในรายละเอียดของการเรียนทำอาหารญี่ปุ่นจะทำให้คุณประทับใจได้
- คนที่เคยลองๆทำอาหารญี่ปุ่น / สนใจในอาหารญี่ปุ่นอยู่แล้ว : มิ้นท์เชื่อว่าคนกลุ่มนี้จะได้ประโยชน์มากสุดเลยค่ะ
และนี่คือครอส์แรกที่มิ้นท์เรียนไปค่า กับหลักสูตรการทำซูชิยอดนิยม 1
สรุป
- ยอบรับเลยว่าไม่รู้มาก่อนว่าการทำอาหารญี่ปุ่นเค้าใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆมากขนาดนี้ ตั้งแต่เรื่องมีดแต่ละชนิดใช้ทำอะไร ต้มน้ำนี้ไว้แค่แว๊บเดียวเพื่อให้ของที่สุดยอดที่สุด การค่อยๆเอาพัดมาพัดข้าว เขียข้าวอย่างไรไม่ให้ข้าวมันวาวและเหนียวเกินไป เออหรือแม้กระทั่งการต้มกุ้งแบบเสียบไม้คล่ำเอาไว้ก่อน พอกุ้งสุกออกมาจะได้ดูตัวตรงๆ เอามาปั่นซูซิแล้วดูสวยหน้ากิน

- ต่อไปนี้เวลาไปกินอาหารญี่ปุ่นคงจะอินมากขึ้นจริงๆแหละ

- ตอนแรกคิดว่าจะต้องมีการเสียเลือดเนื้องจริงจังจากการแล่ปลา 555 เพราะก็โอ้ยชีวิตนี้ไม่เคยแล่ปลามาก่อนง่า แต่เออรอดแฮะ เซนเซเค้าเข้ามาสอนวิธีจับมีด ลงมีดให้ดูกันชัดๆ แถมแหะๆมีปลามาให้เราลองมากมายจา แต่ก็อย่าประมาทไปนะฮะ มิ้นท์โดนมีดบาดตอนตัวเต้าหูโอ้ย ฮาไปอี๊ก

- ทุกอย่างที่ทำคือออกมาอร่อยเกินคาด แต่ก็นะไม่ใช่เพราะมิ้นท์เก่ง แต่มันเป็นเพราะวัตถุดิบเค้าดีมากแหละนี่คือ import มาทุ้กกกอย่าง คำถามคือกลับบ้านมาถ้าต้องซื้อเองจะซื้อเป็นได้ขนาดนี้มั้ย 555

- ตอนแรกดีใจ/ กลัวนะที่ครูเป็นคนญี่ปุ่น ก็แหมเราฟังภาษาญี่ปุ่นไม่ออก แต่เออเค้ามีพี่ล่ามที่เก่งมากกมีความรู้เรื่องการทำอาหารอยู่แล้วด้วย คือแบบแปลได้เห็นภาพมากค่า
Day 1 เรียนอะไรไป?
คอร์สนี้แรกนี้จะเน้นไปที่พื้นฐานในการทำอาหารญี่ปุ่นค่ะ ตั้งแต่การหุงข้าว ทำน้ำซุป ไล่ไปยังเมนูยอดนิยมอย่างการทำซูชิ ที่แต่เดิมอาหารชนิดนี้ไม่ได้มีหน้าตาอย่างที่เราคุ้นชินกันนะคะ แต่จะเป็นการฝึกทำซูชิแบบดั่งเดิมเลย ซูชิที่ถูกริเริ่มด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการถนอมอาหารให้สามารถเก็บไว้กินได้ยาวนานขึ้น!


สำหรับหลักสูตรการทำซูชิยอดนิยม 1 จะเน้นการปูพื้นฐานอย่าง เตรียมการหุ้งข้าว / หันปลาให้ถูกวิธีเลยค่า




เมนูแรกเลยที่เราเริ่มทำชื่อ ดาชิ หรือน้ำซุปที่ถือได้ว่าเป็น secret ingredient ในการทำอาหารญี่ปุ่น


เริ่มที่การทำดาชิ
  • สาหร่าย ทงบุ
  • น้ำ
  • คัตสึโอะ (ปลาโอแห้ง)

ระหว่างที่ต้มๆไป เซนเซก็ได้ลองแจกน้ำต้มทงบุอย่างเดียวมาให้ลองชิมกัน ต่อด้วยน้ำซุปที่ผสมคัตสึโอะลงไปแล้ว เพื่อให้เราสามารถเปรียบเทียบถึงความต่างดูได้ อยากบอกว่าในห้องตอนนี้หอมมากค่ะ อยากให้ลองมาสัมผัสด้วยตัวเองจริงๆค่ะ


ต่อมาคือการเรียนหุงข้าวค่ะ โดยข้าวที่เราเลือกใช้จะเป็น แจแปนโมนิก้าไรท์ เพราะข้าวญี่ปุ่นจะเหนียวและหนึบ จับตัวเป็นก้อนได้ดีกว่าข้าวไทยค่า


เซนเซยังแถมให้ฟังว่า ข้าวที่ว่าดีและฮิตที่สุดของญี่ปุ่นชื่อว่า “โคชิฮิคาริ” ที่มาจากเมือง มินามิอุโอนุมะ จังหวัดนิงาตะ (แอบดีใจมากค่าที่มิ้นท์ได้ลองไปกินมาแล้วไว้จะมาเล่าให้ฟังน้า) กับเป็นข้าวที่มีกรรมวิธีตากสุดแปลก กับการห้อยรวงข้าวไว้บนลิฟต์ของลานสกี เพื่อให้ข้าวโดนลมและแดดที่พอเหมาะในทุกด้าน ให้มันได้ขนาดนั้นสิค้า และไม่น่าแปลกใจเลยที่ราคาข้าวมของเมืองนั้นจะสูงมากๆเช่นกันค่า


คนญี่ปุ่นให้คสามสำคัญในการซาวข้าวมาก เช่นหลังจากล้างน้ำแรกแล้ว จะนวดต่อแค่ 2 ครั้งเท่านั้น เพราะเม็ดข้าวเริ่มดูดซึมน้ำ หากนวดต่อไปเรื่อยๆเมล็ดข้่วอาจจะแตกๆได้


และเมือเมล็ดข้าวจะดูเงาเราก็จะพักทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที โดยใช้ผ้าขาวบางคลุมไว้เผื่อให้ข้าวด้านบนไม่แห้ง ต้อง ใส่ใจขนาดนั้นเลยมั้ย
พอหุงเสร็จ เอาผ้าข้าวบางคลุมและปิดฝาทิ้งไว้ ถามว่าทำมั้ยต้องคลุม? เพราะข้าวยังระอุมีไอน้ำ ไม่งั้นน้ำจะไปเกาะด้านบนและหยอดลงมา การที่ใส่ผ้าไว้จะช่วยอุ่มน้ำไม่ให้ทำลายเนื้อข้าวค่า ใส่ใจในทุกรายละเอียด!


เทคนิคๆ ในการหุงข้าวให้อร่อยที่สุดควรใช้หม้อดินในการหุงข้าวค่า โดยหม้อพวกนี้มีชื่อว่า นาเบะ ราคาสูงถึงใบละ 30,000-50,000 บาท!!!!! เราอาจจะมองว่ามันแพง แต่สำหรับคนญี่ปุ่นแล้วเค้ามองว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นแลพคุ้มค่าค่ะ วันนึงทานข้าวตั้งสามมือ ก็อยากได้ข้าวที่รสชาติดีๆ (เหงื่อตกแป๊ป)


แต่อย่างไรก็ตามเซนเซบอกว่าใช้เป็นหม้อลูมิเนียมหุงก็สามารถทำได้เช่นกันและก็ดีกว่าการใช้หม้อหุงข้าวอัตโนมัติค่า



ต่อมาอีกหนึ่งช่วงเวลาที่ลุ้นระทึกมากสำหรับมิ้นท์ กับการขอดเกร็ดปลาครั้งแรกในชีวิต
โดยปลาที่เราจะเรียนรู้วิธีการหั่นในวันนี้คือ ปลาอาจิ หรือ ปลาทูหางแข็ง ค่ะ กับปลาสดๆที่พึ่งตกได้ตากอ่าวโตเกียวเมือวานนี้ วัตถุดิบต่างๆที่ใช้ในคอร์สนี้ import มาหมดเลยค่ะ






ปลายิ่งเกล็ดเยอะ = ปลายิ่งสด นะคะ อย่าได้รำคาญไป


ระหว่างนั้นเซนเซก็ได้สอนเทคนิคต่างๆในการแล่ปลา และเล่าให้ฟังว่าส่วนต่างๆนี่เราไม่ได้ทิ้งนะ แต่เรายังสามารถนำไปประกอบอาหารได้อีกหลายๆเมนูเลยค่า  
ไม่เคยรู้มาก่อนเลยค่ะว่ากว่าเราจะได้ซาซิมิ สักจากมันจะต้องใส่ใจในรายละเอียดขนาดนี้ ทั้งเรื่องแรงลงมีดต่ำแหน่งที่ลง แม้กระทั้งการซักผ้าขนหนูแทบจะทุกๆสองนาที เพื่อคอยเช็ดทำความสะอาดปลา และบริเวณที่เราใช้งานอยู่ให้สะอาดตลอดเวลา
ส่วนเมนูอาหารที่เราได้เรียนทำในวันแรกนี้ จะมี ซุปลูกชิ้นปลาอาจิ(Aji no tsumirejiru) และ  ซุปดาชิหน้าปลาอะจิ(Aji Namban zuke) ค่า  


ก่อนกลับบ้านในวันแรกเซนเซได้ฝากก้อนผ้าไว้ชิ้นนึงค่ะ ที่มีชื่อเรียกว่า ก้อนซาริ ผ้าก้อนนี้มีความสำคัญมากที่จะเป็นตัวใช้ให้เราได้ลองฝึกปั้นซูชิก่อนที่จะลองกับของจริงในวันรุ่นขึ้น ซูชิราคาแพงๆมักมีคำเล็กๆ และนี่คือขนาดที่อยากให้นักเรียนกลับไปลองปั้นให้ชินมือ ว่านี้คือปริมาณข้าวที่ควรจะใช้ค่ะ




ติดตามรายละเอียดครอส์วันที่ 2 ได้เร็วๆนี้ :)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลังสูตรได้ที่
Dusit Thani Training Programs
หรือ โทร 02-361-7811-3 ต่อ 141, 143, 204

วิทยาลัยดุสิตธานี ที่จับมือร่วมกับ TSUJI CULINARY INSTITUTE เป็นสถาบันสอนการประกอบอาหารชั้นนำที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่น







You Might Also Like

0 ความคิดเห็น

Popular Posts

Like us on Facebook

Flickr Images